แร่ทองคำ และ แร่ที่ใช้ผสมทองคำ

แร่ทองคำ

แร่ทองคำ ลักษณะของแร่ทองคำ และ แร่ที่ใช้ผสมทองคำต่างๆ Gold (Au), Silver (Ag), Copper (Cu), Palladium (Pd), Nickel (Ni), Platinum (Pt), Tin (Sn), Zinc (Zn), Lead (Pb) คุณลักษณะและประโยชน์ต่างๆของทองคำรวบรวมไว้ที่นี่แล้ว

แร่ทองคำ (Gold)

ทองคำ Gold (Au) คือ ธาตุเคมี ที่มีหมายเลขอะตอม 79 สัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำจัดอยู่ในกลุ่มธาติโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชัน สีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยึดและตีเป็นแผ่นได้

ทองคำไม่ทำปฎิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่

ลักษณะของแร่ทองคำ

ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ

 

  1. งดงามมันวาว (lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง
  2. คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3000 ปีก็ตาม
  3. หายาก (rarity) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
  4. นำกลับไปใช้ได้ (reuseable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่มสามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำให้บริสุทธิ์ (purified) ด้วยการหลอมได้อีกโดยนับครั้งไม่ถ้วนนั้นเอง

องค์ประกอบของทองคำ

ทองคำที่พบในธรรมชาติส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของโลหะทองคำ (native gold) แต่โดยทั่วไปอาจจะพบ เจือด้วยเงิน (Ag) ทองแดง (Cu) หรือบางทีอาจจะพบว่ามีบิสมัท (Bi) ปรอท (Hg) ตะกั่ว (Pb) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) ปนอยู่ด้วย

 

แหล่งแรทองคำที่พบบนผิวโลกนั้นอาจเป็นเม็ดแร่อิสระที่มองเห็นด้วยตา (Visual grain) หรือเป็นส่วนประกอบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Unvisual grain) กระจายอยู่ทั่วๆไป ในหิน ดิน และน้ำ นอกจากนี้ในน้ำทะเลก็สามารถพบทองคำได้ ซึ่งปริมาณทองคำที่สามารถพบได้มีค่าประมาณ 0.1 – 2 มิลลิกรัมต่อตันของน้ำทะเล

 

ในปัจจุบันยังไม่มีกรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มทุนในเชิงเศรษฐกิจที่จะใช้แยกทองคำจากน้ำทะเล

ทองคำที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั้นเป็นทองคำที่พบ บนผิวโลกซึ่งสามารถพบได้ในสายแร่ควอตซ์ (quartz) สายแร่ไพไรต์ (pyrite) เป็นต้น

แร่ทองคำประโยชน์

ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายๆประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เงิน (Silver)

เงิน Silver (Ag) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 47 และสัญลักษณ์คือ Ag เงินเป็นโลหะทรานซิชันสีขาวเงิน มีสมบัติการนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก ในธรรมชาติอาจรวมอยู่ในแร่อื่นๆ หรืออยู่อิสระ 

 

เงินใช้ประโยชน์ในการทำเหรียญ เครื่องประดับ ภาชนะบนโต๊ะอาหาร และอุตสาหกรรมการถ่ายรูป มีผู้ค้นพบคือ โรเบิร์ต แบนฟอตร์

ทองแดง (Copper)

ทองแดง Copper (Cu) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล

แพลเลเดียม (Palladium)

แพลเลเดียม Palladium (Pd) เป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 46 และสัญลักษณ์คือ Pd

แพลเลเดียมเป็นโลหะทรานซิชันหายาก อยู่ในกลุ่มเดียวกับแพลทินัม ซึ่งเป็นพวกโลหะมีสกุล สีขาวเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายกับแพลทินัม สามารถสกัดได้จากแร่ทองแดงและนิกเกิล ใช้ประโยชน์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ในอุตสาหกรรมเครื่องเพชร

นิกเกิล (Nickel)

นิกเกิล Nickel (Ni) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 28 และสัญลักษณ์คือ Ni อยู่ในตารางธาตุหมู่ 28

นิกเกิลเป็นโลหะที่มีความมันวาวสีขาวเงิน อยู่กลุ่มเดียวกับเหล็ก มีความแข็งแต่ตีเป็นแผ่นได้ ในธรรมชาติจะทำปฏิกิริยาเคมีกับกำมะถันเกิดเป็นแร่มิลเลอร์ไรต์ (millerite) ถ้าทำปฏิกิริยาเคมีกับสารหนู (arsenic) จะเกิดเป็นแร่นิกกอไลต์ (niccolite) แต่ถ้าทำปฏิกิริยาเคมีกับทั้งสารหนูและกำมะถันจะเป็นก้อนนิกเกิลกลานซ (nickel glance)

 

ประเทศที่บริโภคนิเกิลมากที่สุดคือญี่ปุ่น ซึ่งใช้ 169,600 ตันต่อปี (ข้อมูลปี 2005)

แพลทินัม (Platinum)

แพลทินัม หรือ ทองคำขาว Platinum (Pt) คือธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 78 และสัญลักษณ์คือ Pt เป็นธาตุโลหะทรานซิชัน มีสีเงินเทา มีน้ำหนักมาก สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ แพลทินัมทนต่อการกัดกร่อนมาก ในธรรมชาติพบอยู่กับสินแร่ของนิกเกิลและทองแดง ปัจจุบันแพลทินัมมีราคาสูงกว่าทองคำ 2-3 เท่า 

 

แพลทินัมสามารถใช้ทำเครื่องประดับ อุปกรณ์ในห้องทดลอง ตัวนำไฟฟ้า งานทันตกรรม และเครื่องกรองไอเสียในรถยนต์ ธาตุแพลทินัมเรียกได้อีกอย่างว่า ทองคำขาว ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนกับ ทองขาว (White gold) 

 

แพลทินัมจะแกะลายได้สวยกว่าทองเนื่องจากความหนาแน่นสูง และเมื่อใช้ไปในระยะยาวจะยังคงมีลายที่คมชัดเหมือนเดิมไม่สึกออกไปเหมือนทอง (แพลทินัมจะน้ำหนักเท่าเดิมไม่สูญหายเหมือนทองที่พอใช้ไปเรื่อยๆ เนื้อทองจะหลุดร่อนทุกครั้งที่กระทบกับวัตถุอื่นๆ)

ดีบุก (Tin)

ดีบุก Tin (Sn) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum) ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี หลอมเหลวได้ง่าย ถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี แต่ทนต่อการกัดกร่อนดีกว่าเหล็ก พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite)

สังกะสี (zinc)

สังกะสี Zinc (Zn) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่า Zink เป็นธาตุประเภทโลหะที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจนและธาตุที่ไม่ใช่โลหะ สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออก 

 

ธาตุชนิดนี้เป็นโลหะธาตุที่มีลักษณะที่เป็นสีเงิน มันวาว เป็นที่นิยมนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากมาย เพื่อเป็นโลหะโครงสร้างหรือโลหะผสมกับโลหะอื่นสำหรับประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ นอกจากนั้น สังกะสียังเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เนื่องจากจัดเป็นแร่ที่ร่างกายต้องการชนิดหนึ่ง

ตะกั่ว (Lead)

ตะกั่ว Lead (Pb) เป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (จากละติน: Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แบตเตอรี่ กระสุนปืน โลหะผสม

แหล่งอ้างอิง: wiki

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest

บทความแนะนำ

ทองคํามีกี่ประเภท

ทองคํามีกี่ประเภท ทองคำ นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นแร่ธาตุที่มีมูลค่าสูงเพราะมีปริมาณจำกัด แต่หลายท่าน อาจเคยได้ยินว่ามีทองที่เป็นสีอื่นๆอีก เช่น ทองขาว ทองคำดำ

ทองรูปพรรณคืออะไร

ทองรูปพรรณ คืออะไร

ทองรูปพรรณ คือ ทองรูปพรรณ ต่างจาก ทองคำแท่ง อย่างไร และทำไม ราคาทองทั้งสองแบบถึงไม่เท่ากัน

สมาชิก สมาคมค้าทองคำ

รายชื่อร้านสมาชิกสมาคมค้าทองคำ

รายชื่อสมาชิกสมาคมค้าทองคำ สมาชิก สมาคมค้าทองคำ รวมรายชื่อสมาชิกสมาคมค้าทองคํา แบ่งตามภูมิภาค รายจังหวัดทั้งหมด อ้างอิงจาก สมาคมค้าทองคำ

ทองเค คืออะไร

ทองเค คืออะไร

ทองเคคืออะไร ทองเค คืออะไร ทองเก๊ หรือเปล่า เห็นออกเสียงคล้ายๆกัน ทองเคมีกี่แบบ และทองเคดูยังไง ทองเคขายได้ไหม