ทองคํามีกี่ประเภท

gold-types-cover

ทองคำ นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นแร่ธาตุที่มีมูลค่าสูงเพราะมีปริมาณจำกัด แต่หลายท่าน อาจเคยได้ยินว่ามีทองที่เป็นสีอื่นๆอีก เช่น ทองขาว ทองคำดำ เลยอาจเกิดความสงสัยกันว่า ทองมีแบบไหนบ้าง สีทองมีกี่แบบ องค์ประกอบของทองคำ แต่ละแบบเป็นอย่างไร เป็นทองชนิดเดียวกันหรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบมาให้ท่านแล้ว

ทองคำที่เราเห็นเป็นสีต่างๆนั้น จริงๆแล้วก็คือเกิดมาจากการ เติม เจือ หรือผสม แร่ธาตุแต่ละชนิดลงไปตามสีที่ต้องการและตามการใช้งานที่ต้องการ

 

เราเลยแบ่งประเภทของทองคำออกเป็นสองกลุ่มดังนี้ คือ แบ่งตามธาตุโลหะเจือที่เติมเข้าไป กับ แบ่งตามการใช้งานจริงทั่วไป

แบ่งตามสีแร่ธาตุโลหะเจือ มี 8 ประเภท

เริ่มจากแผนภูมิสี 3 ธาตุของโลหะเจือ ดังรูป จะมีธาตุอยู่ 3 ตัวด้วยกัน ทองคำ Gold (Au) , ทองแดง Copper (Cu) , เงิน Silver (Ag) ซึ่งหลักการก็ง่ายๆ เจือเปอร์เซ็นต์ของด้านไหนเยอะ ก็จะได้สีของธาตุนั้นเยอะ แปรผันกันตามเปอร์เซ็นต์ที่เจือ

1. ทองคำ

ทองคำ (Gold) หรือ ทองคำบริสุทธิ์ เป็นทองคำ 99.99% คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au จะมีสีเหลือง แต่ทองอาจจะเป็นสีอื่นได้โดยการเจือธาตุอื่นลงไปในทองตามสัดส่วนที่ต่างกัน

 

เช่น ทองคำ 14 ส่วนโลหะเจือ 10 ส่วนจะเป็นทอง 14 กะรัต หรือทองคำ 18 ส่วนโลหะเจือ 6 ส่วนก็จะเป็นทอง 18 กะรัต ปกติจะแสดงเป็นสัดส่วนแทน เช่น 14/24 เท่ากับ 0.585 (ปัดเศษ) และ 18/24 เท่ากับ 0.750

 

มีธาตุกว่า 100 ชนิดที่สามารถเจือลงในทองได้ แต่โดยปกติแล้วจะเจือเงินเพื่อให้ทองมีสีขาว เจือทองแดงเพื่อให้ทองมีสีแดง ถ้าผสมทองแดงและเงินในอัตราส่วน 50/50 จะให้โลหะเจือที่มีสีคล้ายทอง

2. ทองขาว กับ ทองคำขาว

ทองขาว (White Gold) กับ ทองคำขาว (Platinum) หลายท่านอาจจะสงสัยว่า เป็นทองชนิดเดียวกันหรือเปล่า ที่จริงแล้วเป็นคนละชนิดกัน

 

ทองคำขาว ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Platinum ส่วน ทองขาว ภาษาอังกฤษ เรียกว่า White Gold แต่คนส่วนใหญ่ทั่วไปจะเรียกเหมารวม ทองคำขาว ว่าเป็น ทองขาว ซึ่งเนื่องจาก ทองขาว หรือ White Gold เป็นที่นิยมมากกว่า Platinum

 

ในส่วน Platinum หรือ ทองคำขาว นั้นคนจะนิยมเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า แพลตตินั่ม (Platinum) เลย เพื่อความเข้าใจที่ง่ายตรงตัวกว่า และเพราะว่า แพลตตินั่มไม่ใช่ทองคำด้วย

 

ดังนั้น White Gold หรือ ทองขาว นั้นหมายถึง ทองคำที่เจือโลหะขาวอื่นๆ เช่น แพลเลเดียม หรือ นิกเกิล ในการเพิ่มน้ำหนักหรือเพื่อเพิ่มความคงทนจะเจือกับ ทองแดง เงิน และ แพลตตินั่มเอง ดังนั้น ทองผสมเงิน ก็จะเรียกว่า ทองคำขาว (White Gold) นั้นเอง ค่าความบริสุทธิ์ มีหน่วยเป็นกะรัต

 

รู้จักแร่ แพลเลเดียม, นิกเกิล เพิ่มเติม: แร่เพลเลเดียม แร่นิกเกิล คืออะไร

 

คุณสมบัติของ ทองขาว ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการใช้ของโลหะที่เจือ ที่จะนำไปใช้งานตามแต่ละวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

เช่น โลหะเจือนิกเกิล จะมีคุณสมบัติแข็ง เหมาะสำหรับทำแหวน โลหะเจือแพลเลเดียม จะนุ่มและอ่อนเหมาะสำหรับประดับอัญมณี สีปกติของทองขาวมีสีเทาอ่อนขึ้นกับโลหะเจือ

 

3. ทองคำเขียว

ทองคำเขียว (Green Gold) คือ ทองคำโลหะเจือ ที่มีการสร้างโดย ดึงเอาทองแดง Copper (Cu) ออกไป ให้เหลือไว้เพียงแค่ ทองคำ Gold (Au) และ เงิน Silver (Ag) 

 

ในความเป็นจริงแล้วสีที่ได้จากวิธีนี้ จะออกเป็นแนวๆ เหลืองปนเขียว แต่เราก็เรียกว่า ทองคำเขียว 

 

ส่วนผสมของทองคำเขียว 18 กะรัต หรือ 18K จะประกอบไปด้วย ทองคำ 75% และเงิน 25% 

 

อ่านเพิ่มเติม: รู้จักค่าเค (K) Karat ทองคำ

4. ทองคำชมพู ทองคำแดง ทองคำสีกุหลาบ (นาก)

ทองคำสีกุหลาบ (Rose Gold) หรือทองคำชมพู เป็นโลหะที่เจอระหว่างทองคำ และทองแดง หรือเจอด้วยแร่เงินด้วย แล้วแต่สูตรของแต่ละเจ้า ด้วยสีที่แดงเรื่อสวยจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือเรียกได้อีกสองชื่อด้วยกัน คือ ทองคำชมพู (Pink Gold) และ ทองคำแดง (Red Gold)

 

ทองสีกุหลาบนี้เคยได้รับความนิยมอย่างมากที่รัสเซียในช่วยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงมีชื่อ อีกชื่อหนึ่งว่า ทองรัสเซีย แต่บ้านเรานิยมเรียกกันว่า “นาก”

 

จะเห็นว่าในบางครั้งเราจะเรียกชื่อกันสลับบ่อยๆ แต่ในแต่ละชื่อ ทองคำแดง ทองคำสีกุหลาบ ทองคำชมพู ก็มีความต่างอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับทองแดงที่เจออยู่นั้นเอง

 

ถ้ามีทองแดงมาก ก็จะมีสีแดงเข้มมาก สีทองคำบริสุทธิ์จะมีสีเหลือง และทองแดงบริสุทธิ์จะมีสีแดงเรื่อๆ

โลหะเจอปรกติของทองคำสีกุหลาบ 18 กะรัต จะเป็นทองคำ 75%, ทองแดง 22.25% และ เงิน 2.75% ส่วนทองคำแดง 14 กะรัต จะพบในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมีทองแดง 41.67%

 

จะมีทองคำสีกุหลาบ อีกแบบหนึ่งที่เป็น เกรดพรีเมียม ทองคำสีกุหลาบกะรัตสูง หรือรู้จักกันในชื่อ Crown Gold เป็นทอง 22 กะรัต โดยมีทองคำ 91.67% และที่เหลือเจอด้วย เงิน หรือทองแดง

 

โดยสรุปว่าทองคำสีกุหลาบนั้นมาจาก การเจอส่วนผสมของโลหะเข้าไปนั้นเอง

 

5. ทองคำดำ

ทองคำดำ (Black Gold) เป็นทองคำที่ส่วนมากใช้กันกับเครื่องเพชรพลอย สีทองคำดำ สามารถสร้างได้หลายวิธี

 

  • ชุบโลหะด้วยไฟฟ้า โดยการใช้ โรเดียมดำ หรือ รูทีเนียม วิธีนี้รูทีเนียมจะให้สีดำมากกว่าการใช้โรเดียม
  • การทำสนิมเขียว โดยใช้ กำมะถัน และ ออกซิเจน เป็นสารประกอบ
  • เทคนิคเลเซอร์ โดยใช้ เลเซอร์ส่งสัญญาณด้วยความเร็วเฟมโตวินาที จะทำให้ผิวหน้าของโลหะเปลี่ยนแปลงไปได้ในระดับโครงสร้างนาโนทำให้มองเห็นเป็นสีดำเข็ม

6. ทองคำเทา

ทองคำเทา (Grey Gold) ทองคำเทานั้นเป็นทองคำที่มีส่วนผสมโลหะเจอโดย เงิน แมงกานีส และ ทองแดง ลงไปในสัดส่วนเฉพาะของแต่ละเจ้าและสีที่ต้องการ

7. ทองคำฟ้าและม่วง

ทองคำม่วง (Purple Gold) คือโลหะเจือด้วย ทองคำ และ อลูมิเนียม ซึ่งประกอบไปด้วยทองคำประมาณ 79% จึงสามารถเรียกเป็นทอง 18 กะรัต หรือทอง 18K ได้ ทอง 18 กะรัต คือ ทองที่มีเปอร์เซ็นต์ 75% – 87.49%

 

ทองคำม่วงจะเปราะ หรือแตกหักได้ง่ายกว่าโลหะเจือทองคำชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงใช้ทองคำม่วงเป็นตัวเรื่อนมากกว่า ที่จะใช้เป็นเครื่องประดับโดยตรง

 

ทองคำฟ้า (Blue Gold) เป็นโลหะเจือที่มีสีคล้ายกับทองคำม่วง คุณสมบัติต่างๆก็จะคล้ายๆกับทองคำม่วง รวมถึงความเปราะด้วย ทองคำฟ้า ผสมระหว่าง ทองคำ และ อินเดียม

8. ทองสัมฤทธิ์และทองเหลือง

ทองเหลือง (Brass) และทองสัมฤทธิ์ (Bronze) ทองทั้งสองชนิดนี้ ไม่มีส่วนผสมของทองคำ แต่มีคำว่าทองในนามเท่านั้น จะเป็นโลหะที่ใช้ทองแดงเป็นโลหะหลัก (copper base alloys) นอกจากนี้ก็มีโลหะผสมทองแดง – นิกเกิล โลหะผสม ทองแดง – อลูมิเนียม เป็นต้น

 

ทองเหลือง (Brass) คือโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ใช้ทำเครื่องใช้เครื่องประดับ และงานทางศิลปะ ทองเหลืองที่ใช้งานทั่วๆ ไปมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่สามารถแยกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ ทองเหลือง แอลฟา และทองเหลืองแอลฟา-บีตา (alpha brass, alpha-beta brass)

 

 

  • ทองเหลืองแอลฟา คือ ทองเหลืองที่มีส่วนผสมของทองแดงมากกว่า 61% ทองเหลืองประเภทนี้อ่อน สามารถตีแผ่ หรือทำเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ง่ายเหมาะสำหรับทำภาชนะ และเครื่องใช้ต่างๆ
  • ทองเหลืองแอลฟา-บีตา ประกอบด้วยทองแดงระหว่าง 54% – 61% ทองเหลืองชนิดนี้แข็ง และเปราะกว่าชนิดแรก ใช้ทำชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบของเครื่องจักร
 
 

ทองสัมฤทธิ์ (Bronze) หรือ เรียกกันว่า สำริด เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง และดีบุก สัมฤทธิ์บางชนิดอาจมีส่วนผสมของสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่ด้วย สัมฤทธิ์ที่เป็นโลหะผสมของทองแดง นิยมใช้ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่ใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม สัมฤทธิ์แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามชนิดและส่วนผสมของสาร คือ

 

  1. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 ค่อนข้างอ่อน ตีแผ่ หรือรีดได้ง่าย เหมาะกับงานทั่วๆไป 
  2. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 แต่มีสังกะสี หรือตะกั่วผสมอยู่ด้วย เช่น สัมฤทธิ์ 5-5-5 คือ สัมฤทธิ์ที่มีส่วนผสมของดีบุกร้อยละ 5 สังกะสีร้อยละ 5 ตะกั่วร้อยละ 5 ใช้ทำเฟือง และหล่อทำเครื่องสูบน้ำ
  3. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกร้อยละ 8-10 อาจมีสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่บ้าง สัมฤทธิ์ชนิดนี้ใช้ทำท่อน้ำ
  4. สัมฤทธิ์ที่มีฟอสฟอรัสผสมอยู่ร้อยละ 0.1-0.6 ดีบุกร้อยละ 6-14 สัมฤทธิ์ชนิดนี้ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ทำชิ้นส่วนของเรือเดินทะเล เช่น ใบพัดเรือ และทำเฟืองเกียร์
  5. สัมฤทธิ์ที่มีตะกั่วผสมร้อยละ 8-20 บางชนิดอาจสูงถึงร้อยละ 30 ส่วนดีบุกนั้นมีตั้งแต่ร้อยละ 0-10 ใช้ทำแท่นรองรับ (bearing)
  6. สัมฤทธิ์ชนิดที่ใช้ทำระฆัง หรือเครื่องเสียง มีส่วนผสมของดีบุกกว่าร้อยละ 30 โดยผสมตะกั่วและสังกะสีลงไปเล็กน้อย

แบ่งตามการใช้งานจริง มี 6 ประเภท

1. ทองคำ 99.99%

ทองคำ 99.99% หรือเรียกอีกอย่างว่า ทอง 24K เป็นทองที่มีความบริสุทธิ์มากที่สุด อย่างที่ได้กล่าวไปด้านบน ส่วนใหญ่นำมาทำสร้อยคอ วิธีสังเกตทองชนิดนี้แบบง่ายๆก็คือ ถ้าเป็นสร้อยคอ กับ แหวนนั้นจะมี รอยปั๊มว่า 99.99 ตามปลายสร้อยหรือแหวน

2. ทอง 96.5% หรือ ทอง 100% ไทย

ทอง 96.5% ในไทยจะเรียกกันว่า ทอง 100% ไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐาน สมาคมค้าทองคำของไทย โดยจะมีส่วนผสมของทองอยู่ที่ 96.5% จะมีความบริสุทธิ์ของทองน้อยกว่าทอง 99.99% เพียงเล็กน้อย ในตัวสีของทอง จะออกเหลืองกว่าสีของทอง 99.99% วิธีสังเกตทองชนิดนี้แบบง่ายๆก็คือ เหมือนทอง 99.99 คือให้ดูรอยปั้มว่า 96.5 ที่ปลายสร้อยหรือแหวนเป็นต้น

3. ทอง 90% 20k ทองที่ใช้ทำจิวเวอร์รี่ จะมีความแข็ง

ทอง 90% ทองชนิดนี้จะนำมาทำเป็นจิวเวลรี่ เช่น แหวน เข็มกลัด เพราะความแข็งของทอง ที่ผสมในปริมาณน้อยลง 90% จะมีเนื้อแข็งขึ้น สามารถตกแต่งทรงได้ ไม่ว่า ฉลุ หรือตะไบ แต่ลักษณะของทองชนิดนี้ จะมีความคล้ายกับ ทอง 96.5% สีจะเหลืองสวย

4. ไวท์ โกลด์ (white gold) ทองขาว 75% 18K

White Gold (ไวท์ โกลด์) ทองขาว ไม่ใช่ทองคำขาวดังที่ได้กล่าวไปข้างบนนั้น จะมีส่วนผสมของทอง 75% ผสมกับ แพลตตินั่ม (Platinum) ตามสัดส่วนสูตรของแต่ละเข้า จะได้ออกมาเป็นทองขาว 18K หรือ 75% ทำลวดลายได้ง่ายเนื่องจากทองขาวที่ผสมออกมามีความแข็ง

5. ทองคำขาว (Platinum) 100% มีความแข็งมาก

Platinum ทองคำขาว 100% นิยมนำไปทำแหวานเพชร เนื่องจากมีความแข็งแรง จึงทำให้ยึดเกาะกับเพชรได้ดีจึงมีราคาค่อนข้างสูง การทำลวดลายทำได้ยากเนื่องจากมีความแข็ง

6. พิ้งค์โกลด์ (Pink Gold) หรือ โรสโกลด์ (Rose Gold)

พิ้งก์โกลด์ (Pink Gold) หรือ โรสโกลด์ (Rose Gold) ดังที่ได้กล่าวไปข้างบนคือเป็นทองผสมกับแร่ ส่วนมากจะผสมกับอัลลอย พิ้งก์ จากอิตาลี เพื่อให้เกิดสี พิ้งก์โกลด์ (Pink Gold) จะมีทองผสมอยู่ 75% จะได้เป็นทอง 18K ตามสูตรของแต่ละเจ้าและสีที่ต้องการ คุณสมบัติจะเหมือนกันทองขาวทุกอย่าง มีความแข็ง ทำจิวเวลรี่จะสวยงาม

แหล่งอ้างอิง: wiki

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest

บทความแนะนำ

ทองรูปพรรณคืออะไร

ทองรูปพรรณ คืออะไร

ทองรูปพรรณ คือ ทองรูปพรรณ ต่างจาก ทองคำแท่ง อย่างไร และทำไม ราคาทองทั้งสองแบบถึงไม่เท่ากัน

สมาชิก สมาคมค้าทองคำ

รายชื่อร้านสมาชิกสมาคมค้าทองคำ

รายชื่อสมาชิกสมาคมค้าทองคำ สมาชิก สมาคมค้าทองคำ รวมรายชื่อสมาชิกสมาคมค้าทองคํา แบ่งตามภูมิภาค รายจังหวัดทั้งหมด อ้างอิงจาก สมาคมค้าทองคำ

ทองเค คืออะไร

ทองเค คืออะไร

ทองเคคืออะไร ทองเค คืออะไร ทองเก๊ หรือเปล่า เห็นออกเสียงคล้ายๆกัน ทองเคมีกี่แบบ และทองเคดูยังไง ทองเคขายได้ไหม