ในการซื้อทองคำนั้น นอกจากค่าราคาทองคำ ที่เราเห็นแล้วนั้น ถ้าเป็นทองรูปพรรณ ยังมี ค่ากำเหน็จ และ ถ้าเป็นทองคำแท่ง ก็จะมี ค่าบล็อค เพิ่มเติมอยู่ด้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักทั้ง ค่ากำเหน็จทอง และ ค่าบล็อกทองแท่ง กัน
ค่ากำเหน็จ คือ ค่าแรงหรือค่าจ้างของช่างทอง ในการผลิตขึ้นรูปแกะลายทองคำ จากทองคำแท่งให้กลายเปลี่ยนรูปมาเป็นทองรูปพรรณ ในรูปแบบลักษณะต่างๆ เช่น สร้อยคอ แหวน กำไล จี้ ต่างหู เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ราคาของค่ากำเหน็จ มีความแตกต่างกันไปตามความยากง่าย และลักษณะลวดลาย และรูปทรง ของทองรูปพรรณที่ได้ทำขึ้นมานั้น
การคิดราคาค่ากำเหน็จตามมาตรฐานของค่าแรงไทยนั้น จะคิดเป็น ราคาต่อ บาททองคำ ค่ากำเหน็จในปัจจะบันจะอยู่ที่ประมาณ บาทละ 600 – 1,200 บาท ต่อน้ำหนักทองคำ 1 บาท ขึ้นอยู่กับลวดลายและราคาในแต่ละร้าน
สมมุติซื้อทองคำหนัก 3 บาท ราคาทอง ณ ตอนนั้นอยู่ที่บาทละ 28,000 บาท เราก็จะคิดราคาทองคำรวมก่อน
3 x 28,000 = 84,000 บาท
ในตอนนั้นค่ากำเหน็จที่เราซื้ออยู่ที่บาทละ 600 บาท ก็จะเป็น นำค่ากำเหน็จคูณจำนวนทองที่ซื้อคือ 3 บาท
3 x 600 = 1,800 บาท
สุดท้ายนำค่าทองคำ กับค่ากำเหน็จมารวมกันก็จะเป็นเงินสุทธิที่เราต้องจ่าย
84,000 + 1,800 = 85,800 บาท
ค่าบล็อค (Block) หรือค่าพรีเมียม (Premium) คือ ค่าแรงในการผลิตทองคำแท่ง โดยที่นำทองมาหลอม และทำการเทลงไปในบล็อคแม่แบบ ให้มีรูปร่างเป็นแท่งตามบล็อค จึงเรียกว่าค่า บล็อค
แต่จริงๆแล้วทองคำแท่งส่วนใหญ่ใช้เครื่องจักรในการผลิต ดังนั้นราคาค่าบล็อคจริงๆจึงไม่ใช่ค่าขึ้นรูปซะทีเดียว แต่เป็นค่าบริหารจัดการของร้านทองด้วย
ค่าบล็อคทองคำแท่งแบบหลอมเบ้า (Casting) หรือ ทองคำแท่งแบบ Cast Bar
ค่าบล็อคแบบ Casting คือ การผลิตทองคำแท่งแบบน้ำหนักมากๆ และไม่มีลวดลายเยอะ เช่น ทองแท่งละ 5 บาท, 10 บาท, ไปจนถึง หนัก 50 บาท หรือไประดับแท่งละ 100 กรัม, 500 กรัม, 1 กิโลกรัม เป็นต้น
วิธีแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการจำหน่ายในปริมาณมากๆ ให้กับผู้ประกอบการเพื่อนำไปผลิตเป็นทองรูปพรรณอีกทีนึง จึงไม่คิดค่าบล็อค
กระบวนการผลิตก็คือจะนำทองมาหลอมให้ละลาย แล้วนำไปหยอดลงเบ้า พอทองเริ่มเย็นแข็งตัวขึ้นก็จะนำออกจากเบ้า และทิ้งไว้ให้เย็น หลังจากนั้นนำไปแช่น้ำให้แข็งตัว จึงนำไปพิมพ์ลาย
ค่าบล็อคทองคำแท่งแบบรีดแผ่น (Stamping) หรือ ทองคำแท่งแบบ Minted Bar
ค่าบล็อคแบบ Stamping คือ ทองคำแท่งแบบน้ำหนักน้อยๆ เช่น 1 กรัม, 1 สลึง, 1 บาท จะมีความสวยงาม มีลวดลายหลากหลาย เช่น ลายมังกร ลายหัวใจ ลายเทพเจ้า ลายอักษรต่างๆ
กระบวนการผลติแบบ Stamping ก็คือ นำทองคำทำให้เป็นแผ่นใหญ่ๆ หลังจากนั้นนำเข้าเครื่องรีดเพื่อให้เป็นแผ่นบางลงมา
และนำมาตัดด้วยใบตัดเพื่อให้ออกมาเป็นรูปทรงตามที่ต้องการ และขั้นตอนสุดท้ายนำมาพิมพ์ลาย โลโก้ต่างๆ หรือตกแต่งเพิ่มเติมโดยการพ่นทรายตามลวดลายต่างๆ และแพคในหีบห่อที่สวยๆ
ดังนั้น
การซื้อ ทองคำแท่งแบบ Casted Gold Bar หรือทองคำแท่งหลอม โดยปรกติจะมีตั้งแต่ 5 บาท ขึ้นไป จะไม่เสียค่าบล็อค ส่วนถ้าซื้อ ทองคำแท่งแบบ Minted Gold Bar หรือทองคำแท่งปั๊มโลโก้ จะเสียค่าบล็อคด้วย ไม่ว่าจะ 1 สลึง หรือ 5 บาท ขึ้นไป ค่าบล็อค อยู่ที่ บาทละ 150 – 300 บาท
ในทองแท่ง น้ำหนัก 1 สลึง จะมีค่าบล็อค 150 บาท
ในทองแท่ง น้ำหนัก 1 บาท จะมีค่าบล็อค 150 บาท
ในทองแท่ง น้ำหนัก 1 กรัม จะมีค่าบล็อค 200 บาท
ในทองแท่ง น้ำหนัก 2 บาท จะมีค่าบล็อค 200 บาท
ในทองแท่ง น้ำหนัก 2 บาท จะมีค่าบล็อค 300 บาท
ทั้งนี้ทั้งนั้นราคาค่าบล็อคจะขึ้นอยู่กับแต่ละร้าน
หน่วยวัดทองคำ น้ำหนักทอง หรือ หน่วยทองคำ เป็นสิ่งที่กำหนด ขนาดน้ำหนักของทองนั้นๆ เช่น ทอง
ทองรูปพรรณ คือ ทองรูปพรรณ ต่างจาก ทองคำแท่ง อย่างไร และทำไม ราคาทองทั้งสองแบบถึงไม่เท่ากัน
ทองรูปพรรณ มีกี่แบบ และ ทองคำแท่ง มีกี่แบบ ทองรูปพรรณ มีกี่แบบ หลายท่านอาจสงสัย
ทองคํามีกี่ประเภท ทองคำ นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นแร่ธาตุที่มีมูลค่าสูงเพราะมีปริมาณจำกัด แต่หลายท่าน อาจเคยได้ยินว่ามีทองที่เป็นสีอื่นๆอีก เช่น ทองขาว ทองคำดำ
ประวัติสมาคมค้าทองคำ Gold traders association history ประวัติสมาคมค้าทองคำ ปัญหาในยุคแรก จุดดำเนิดสมาคม
รายชื่อสมาชิกสมาคมค้าทองคำ สมาชิก สมาคมค้าทองคำ รวมรายชื่อสมาชิกสมาคมค้าทองคํา แบ่งตามภูมิภาค รายจังหวัดทั้งหมด อ้างอิงจาก สมาคมค้าทองคำ
แร่ทองคำ และ แร่ที่ใช้ผสมทองคำ แร่ทองคำ ลักษณะของแร่ทองคำ และ แร่ที่ใช้ผสมทองคำต่างๆ Gold
ทองเคคืออะไร ทองเค คืออะไร ทองเก๊ หรือเปล่า เห็นออกเสียงคล้ายๆกัน ทองเคมีกี่แบบ และทองเคดูยังไง ทองเคขายได้ไหม